การใช้ความคิดและความพยายามอย่างมากในการสร้างเมนูในร้านอาหารรวมทั้งเทคนิคทางจิตวิทยาที่ทรงพลัง เมนูร้านอาหารเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ซับซ้อนซึ่งสามารถผลักดันให้ลูกค้าเลือกทางเลือกที่แน่นอนได้ เมนูร้านอาหารสามารถบ่งบอกความคิดเราได้
แม้แต่การปรับแต่งลำดับรายการในเมนูหรือแบบอักษรที่ใช้ง่ายๆก็มีผลอย่างมากต่อตัวเลือกของผู้คน ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมที่เรียกว่า “วิศวกรรมเมนู” โดยเฉพาะในการออกแบบเมนูที่สื่อข้อความถึงลูกค้ากระตุ้นให้พวกเขาใช้จ่ายมากขึ้นและทำให้พวกเขาอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง
“หากลูกค้าสามารถหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาก็สามารถใช้เวลาเพิ่มขึ้นเพื่อดูสินค้าอื่นๆที่พวกเขาอาจสั่งซื้อ” (เครดิต: Rapp)
“การใช้คำศัพท์ธรรมดาเพื่อเน้นที่มาของอาหารสามารถทำให้อาหารราคาถูกกว่าความเป็นจริง” (เครดิต: Alamy)
“น้ำหนักของเมนูจะทำให้ลูกค้าทราบว่าพวกเขาอยู่ในสถานประกอบการที่หรูหรากว่าซึ่งส่งผลถึงความคาดหวังการบริการในระดับสูงเช่นกัน”
รูปแบบอักษร
แบบอักษรที่ใช้เขียนเมนูสามารถสื่อถึงข้อความที่คล้ายกัน ตัวอย่างเช่น แบบอักษรตัวเอียงบ่งบอกถึงการรับรู้ถึงคุณภาพ แต่การใช้แบบอักษรที่ซับซ้อนซึ่งอ่านยากอาจมีผลทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไป
การศึกษาโดย Spence นักวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ไวน์ที่มีข้อความอ่านยากเป็นที่ชื่นชอบของนักดื่มมากกว่าไวน์ชนิดเดียวกันที่มีแบบอักษรที่เรียบง่ายกว่า และยังพบอีกว่าผู้บริโภคมักเชื่อมโยงแบบอักษรที่กลมกับรสนิยมที่หวาน ในขณะที่แบบอักษรเหลี่ยมมักจะสื่อถึงความเค็ม, เปรี้ยวหรือขม
คำอธิบาย
ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Marks & Spencer ผู้ค้าปลีกชาวอังกฤษมีชื่อเสียง ใช้คำอธิบายอาหารที่ขายในโฆษณาเป็นเวลานานและกระตุ้นความรู้สึกเพื่อสื่อถึงความประทับใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
“นี่คือพุดดิ้งช็อคโกแลตเบลเยี่ยมที่ละลายตรงกลางเสิร์ฟพร้อมกับครีม Channel Island ที่หนาเป็นพิเศษ” สร้างยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 3,500%
“หากไวน์มีฉลากที่อ่านยากขึ้น นักดื่มไวน์บางคนจะชอบมันมากกว่า” (เครดิต: Alamy)
“คำพูดมีพลังมหาศาลในการเลือกอาหาร การตั้งชื่ออาหารที่สื่อความหมายสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 27% สิ่งนี้จะมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคำอธิบายแนบที่มาของส่วนผสมด้วย”
“คำพูดที่ใช้ประสาทสัมผัส ทำให้อาหารดูน่าสนใจยิ่งขึ้น”
“ยิ่งคุณมีคำอธิบายมากเท่าไหร่ มูลค่าของสินค้าก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้นและราคาจะต่ำลงในความรู้สึกของลูกค้า” (เครดิต: Rapp)
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคโลญจน์ในเยอรมนี แสดงให้เห็นว่า “การตั้งชื่ออาหารอย่างชาญฉลาดด้วยคำที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของปากเมื่อรับประทานอาหารร้านอาหารสามารถเพิ่มความน่ารับประทานของอาหารได้”
การใส่ชื่อแบรนด์ลงในชื่ออาหารยังเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับร้านอาหารเช่นเดียวกับป้ายชื่อที่ชวนให้นึกถึงเช่น “ แฮนด์เมด” หรือ “ เจ้าเก่า” ตามที่ Brian Wansink จาก Food and Brand Lab แห่ง Cornell Universityได้ทำการศึกษา ซึ่งความรักชาติและครอบครัวก็สามารถกระตุ้นยอดขายได้เช่นกัน
เพิ่มมูลค่า
“ ยิ่งคุณมีคำอธิบายมากเท่าใด มูลค่าของสินค้าก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้นและราคาก็จะดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องสำคัญ” (เครดิต: Rapp)
“หากรายการเมนูมีภาพประกอบ สมองของเราจะ ‘ลิ้มรส’ อาหารในภาพ” (เครดิต: Alamy)
นอกจากคำบนเมนู สีที่ใช้อาจส่งผลกระทบได้เช่นกัน เช่น สีเขียว, สีแดงแสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนและอาจดึงดูดความสนใจไปที่อาหารที่เชฟต้องการให้คุณซื้อมากที่สุด หรืออาจเป็นเพราะเป็นเมนูที่มีกำไรมากที่สุด
ร้านอาหารสามารถใช้เคล็ดลับอื่นๆ เพื่อล่อลวงให้ผู้บริโภคซื้ออาหารที่มีราคาแพงกว่า สิ่งที่พบบ่อยที่สุดคือ การลดราคาลงหนึ่งเซ็นต์ (หรือเพนนี) เนื่องจากการจ่ายเงิน $5.99 ต่อจาน ทำให้ดูเหมือนถูกกว่า $6 วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมค้าปลีกและผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ฉลาด ดังนั้นร้านอาหารก็มีเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งนั่นคือการตัดทิ้งสัญลักษณ์ดอลลาร์หรือปอนด์ไปพร้อมกัน
ตำแหน่งการวางเมนู
การจัดเรียงอาหารในเมนูสามารถส่งผลกระทบอย่างมากเช่นกัน การวางรายการที่แพงที่สุดไว้ที่ด้านบนของเมนู จะทำให้สินค้าที่ตามมาดูมีราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น และที่สำคัญ ไม่ใส่รายการมากเกินไปเพราะอาจขัดขวางทางเลือกได้
ภาพประกอบ
คุณต้องแน่ใจว่าภาพประกอบกับอาหารจริงเหมือนกัน ตรงปก เพราะผู้บริโภคมักจะคาดหวังนั่นเอง
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสั่งอาหารผ่านปลายนิ้วสัมผัส ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามเช่นกัน