เนื้อวัว เป็นหนึ่งในวัตถุดิบยอดนิยม และเป็นสิ่งที่ร้านอาหารหลายร้านขาดไม่ได้ ด้วยความพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ ความเหนียวที่แทรกอยู่ใน เนื้อวัว ทำให้ได้รสชาติที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ไม่ว่าจะนำไปทำเป็นซุป ย่าง หรือ รมควัน ก็แสนจะอร่อยสุด ๆ สำหรับใครที่กำลังมองหาวัตถุดิบมาทำอาหารมื้อเย็น หรือต้องการเปิดร้านอาหารเกี่ยวกับเนื้อ เนื้อวัว ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าลองค่ะ
เลือกหัวข้ออ่าน
วิธีเลือกซื้อเนื้อวัวให้สด สะอาด และปลอดภัย
สำหรับการเลือกเนื้อวัวให้ได้คุณภาพที่ดี คุ้มค้าแก่ราคา มีวิธีการเลือกดูไม่ยากเลยค่ะ
- สีของเนื้อวัว
เนื้อวัวที่ดีต้องมีสีแดงเข้ม ไม่ออกไปทางเขียวหรือเหลืองคล้ำ
- ลักษณะเนื้อวัว
เนื้อวัว ควรมีความแน่น สดใหม่ เมื่อกดดูจะไม่มีรอยบุ๋ม ลายชัดเจน ไม่มีเม็ดใส ๆ เหมือนเม็ดสาคู (เม็ดใสๆ คือ ตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด) และถ้านำเนื้อวัววางทิ้งไว้ ควรมีน้ำสีแดงจาง ๆ ซึมออกมา แต่ถ้าหากเป็นสีเหลือง ๆ แสดงว่า เนื้อวัวไม่สดค่ะ
- กลิ่น
ควรมีกลิ่นที่ไม่เหม็นเปรี้ยวและไม่มีเมือกใส ๆ
- วันผลิตและวันหมดอายุ
ควรตรวจสอบวันผลิตและวันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์เสมอ
- ช่วงเวลาในการซื้อ
ถ้าไปตลาดสด การซื้อเนื้อวัวในช่วงเช้า จะทำให้คุณได้เนื้อวัวที่สดใหม่ ไม่ค้างคืนค่ะ
- แหล่งซื้อ
สำหรับเนื้อวัว แหล่งซื้อก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าเลือกแหล่งซื้อที่ไม่น่าเชื่อถือ คุณอาจจะได้เนื้อวัวที่คุณภาพไม่ดี ไม่สด ใกล้วันเน่าเสีย โชคร้ายกว่านั้น อาจจะได้มาในราคาแพงอีกด้วย
ส่วนต่าง ๆ ของเนื้อวัว และวิธีการปรุงอาหารให้อร่อย
สำหรับแต่ละส่วนของเนื้อวัวนั้น มีความเหนียว ความนุ่ม ในลักษณะที่แตกต่างกัน แน่นอนว่า เรื่องของรสชาติก็แตกต่างกันด้วย แต่เมื่อนำเนื้อวัวมาประกอบอาหาร กลับพบว่า สามารถทำเมนูอาหารออกมาได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะนำไปย่าง ผัด ทำเป็นสเต็กก็อร่อยค่ะ
1.Chuck (เนื้อสันคอ)
ตัดจากไหล่ มีความหนาและเหนียวมาก แต่มีรสชาติดี
วิธีปรุง: เนื้อสันคอมีพังผืดจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วยคอลลาเจนและอาจแข็งเล็กน้อย แต่ให้รสชาติที่ดี สามารถนำไปอบ ย่าง หรือเคี่ยว เพื่อเพิ่มความนุ่ม
2.Shank (เนื้อส่วนที่ติดกับขา)
ตัดออกจากขา ตั้งแต่ต้นขาลงมา ซึ่งเป็นส่วนที่ตัดยากที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อขาถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการตัดที่ยากและเป็นคลื่น มีเอ็นแทรกอยู่เยอะ ที่สำคัญส่วนนี้ เนื้อเหนียวและเคี้ยวยากมาก แต่ที่ประทับใจคือ ราคาถูกที่สุด
วิธีปรุง: ถ้าจะนำไปประกอบอาหาร ควรนำไปเคี่ยวให้เปื่อย หรือทำเป็นซุป น้ำสต็อกเนื้อวัวก็เริ่ดค่ะ
3.Brisket (เนื้อติดหน้าอก)
เป็นเนื้อส่วนหน้าที่ตัดออกจากเต้านมที่ติดกับช่วงหน้าอกของวัวลงมาถึงท้อง เช่นเดียวกับเนื้อสันคอที่มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจำนวนมากและอาจค่อนข้างเหนียวเว้นแต่จะปรุงอย่างถูกต้อง
วิธีปรุง: เนื้อส่วนนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักปิ้งบาร์บีคิว แต่สำหรับใครต้องการจะนำมารมควัน หรือตุ๋น ก็ถือว่าอร่อยใช้ได้เลยค่ะ
4.Rib (ซี่โครง)
ตัดออกจากบริเวณซี่โครงและเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความนุ่ม ชุ่มฉ่ำ และรสชาติที่ยอดเยี่ยม ซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยได้อีก 2 ส่วน ได้แก่ Short Rib คือเนื้อติดซี่โครงเป็นชิ้นโค้ง และ Prime Rib คือ เนื้อส่วนที่คล้าย Rib Eye
วิธีปรุง: เหมาะสำหรับการปิ้ง ย่าง รมควัน แต่อาจต้องใช้เวลานานพอสมควรค่ะ
5.Short plat (ส่วนหน้าท้อง)
Short plat หรือบางคนเรียกว่า Belly ตัดออกจากท้องด้านหน้าของวัวด้านล่างซี่โครง มีกระดูกอ่อนจำนวนมาก มีไขมัน เคี้ยวยาก และค่อนข้างเหนียว
วิธีปรุง: นิยมนำมาตุ๋นเพราะมีความเหนียว ไม่นิยมนำมาย่างหรืออบ เพราะจะทำให้ได้เนื้อที่แห้งจนเกินไป
6.Flank (เนื้อส่วนล่าง)
ตัดออกจากกล้ามเนื้อหน้าท้องของวัว เป็นหนึ่งในการตัดที่ยากที่สุด เพราะมีไขมันอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้เนื้อส่วนนี้ค่อนข้างเหนียว
วิธีปรุง: เนื่องจากเนื้อส่วนนี้มีความเหนียวมากเกินไป การที่จะทำให้เนื้อนุ่มขึ้นคือ การหมัก ดังนั้น คุณควรหมักก่อนนำไปย่างหรือทำเป็นเนื้อสเต็ก
7.Loin (เนื้อสัน)
ตัดจากด้านหลังของวัวเหนือซี่โครง โดยทั่วไปจะเป็นส่วนของ hindquarter ตรงด้านหลังซี่โครง เป็นหนึ่งในเนื้อวัวที่นุ่มและเป็นที่ต้องการมากที่สุด
วิธีปรุง: เนื้อสัน เหมาะสำหรับย่างบนตะแกรง หรือทำเป็นสเต็ก
8.Sirloin (เนื้อสันนอก)
ตัดจากด้านหลังของวัวผ่านเนื้อซี่โครง แม้ว่าจะไม่นุ่มเท่าเนื้อซี่โครง แต่เนื้อสันนอกก็ยังคงเป็นเนื้อวัวที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
วิธีปรุง: เนื้อสันนอก ทานคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ดก็อร่อย หรือจะนำไปผัด ทอด ก็ยิ่งอร่อยค่ะ
9.The round (เนื้อสะโพก)
ตัดจากด้านหลังของวัวเหนือขาหลัง มีไขมันน้อยมาก เคี้ยวยากและเหนียว
วิธีปรุง: เนื้อสะโพก นิยมนำไปตุ๋นหรือย่าง
วิธีการเก็บรักษาเนื้อวัว
สำหรับวิธีการเก็บเนื้อวัวสด ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้ 3-5 วัน แต่ถ้าอยากเก็บไว้ทานเป็นเดือน ๆ แนะนำให้เก็บในช่องแช่แข็งค่ะ และควรห่อหุ้มด้วยพลาสติกหรือถุงสำหรับแช่แข็ง เพื่อป้องกันเนื้อวัวไหม้จากอุณหภูมิที่เย็นจัด
ส่วนเนื้อวัวที่ปรุงสุกแล้ว ถ้าไม่อยากให้เสียรสชาติ ควรทานให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง หรือถ้าคุณทานไม่หมดต้องการเก็บไว้ทานในมื้อต่อไป สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ ในอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส แต่ต้องทานให้หมดภายใน 4 วัน แต่ถ้าคุณเก็บในช่องแช่แข็งสามารถเก็บได้นานถึง 4 เดือนเลยค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณเก็บในอุณหภูมิและระยะเวลาที่ไม่ถูกต้อง อาหารอาจจะเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ค่ะ วิธีที่ดีที่สุด ถ้าอยากทานเนื้อวัวที่รสชาติอร่อย คุณภาพสดใหม่เสมอ ควรซื้อมาในปริมาณที่พอดีจะดีกว่า หรือทานให้หมดในวันนั้นเลย เพื่อน ๆ คนไหนนำเนื้อวัวไปทำเป็นเมนูอะไรบ้าง มาเล่าให้พวกเราฟังได้นะคะ
Resource:
https://delishably.com
https://www.thespruceeats.com
https://www.baanlaesuan.com