เทคนิคการตั้งราคาขายผ่าน Platform Delivery 1

เทคนิคการตั้งราคาขายผ่าน Platform Delivery

สวัสดีครับเพื่อนๆ มีคนสอบถามผมมาเยอะ เรื่อง การตั้งราคา ขายบนแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ ว่าจะตั้งราคาอย่างไร บางเจ้าคิดค่าคอมมิชชั่นไม่เท่ากัน ปัญหานี้ผมก็เคยเจอมาด้วยตัวเอง ตั้งราคาผิดชีวิตเปลี่ยนมาแล้วครับ การตั้งราคา อาหารมันไม่ยาก แต่ก็ไม่ได้ง่าย..

ร้านเรา เรารู้ตัวเองดีว่าจะขายเท่าไหร่ แต่ก่อนที่เราจะตั้งราคาได้ เราต้องรู้ต้นทุนของร้านเราก่อนว่า เมนูนี้กี่บาท เช่น เมนูกะเพราหมูกรอบ เราต้องรู้ว่าเมนูนี้ใส่อะไรบ้าง ใส่เท่าไหร่ เราต้องหาต้นทุนที่แท้จริงให้ได้ โดยเฉพาะหมูกรอบ ก่อนที่จะเป็นหมูกรอบ มัน คือ หมูสามชั้น

และด้วยวิธีการทำหมูกรอบค่อนข้างซับซ้อน ต้องใส่ใจ และใช้เวลา ไม่เหมือนการซื้อหมูสับจากตลาดที่นำมาผัดได้เลย แต่หมูกรอบ เราต้องนำหมูสามชั้น มาต้มก่อน ต้มเสร็จนำไปตากแดด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง หรืออบเครื่อง ประมาณ 1 ชั่วโมง และนำมาทอดให้กรอบ

เพื่อนๆทราบไหมว่า หมูกรอบมีหลายแบบ บางร้านขายหมูกรอบแบบไม่กรอบมาก พี่ของหมูสามชั้นนี่เอง บางร้านขายหมูกรอบไม่กรอบมากแต่กรอบ บางร้านขายหมูกรอบที่โคตรกรอบ เคี้ยวทีดังไปสามบ้าน เจ็ดบ้าน บางร้านขายหมูกรอบแบบติดฟัน นั่นมันหมูกรอบเหนียว

กลับมาที่ต้นทุนหมูกรอบก่อนครับ ก่อนที่เราจะตั้งราคาขายได้ เราต้องทราบก่อนว่า หมูสามชั้น 5 กิโลกรัม ต้ม, ตาก, ทอดแล้วเหลือเท่าไหร่ ผมคิดตัวเลขเล่นๆแบบพนักงานใหม่ทำ เหลือ 3 กิโลกรัม

นั่นแหล่ะครับเพื่อนๆ เราซื้อหมูสามชั้นมา กิโลกรัมละ 200 บาท ก่อนต้มเป็นเงิน 1,000 บาท พอหลังจากต้ม, ตาก, ทอดเสร็จ ได้หมูกรอบปริมาณ 3 กิโลกรัม นั่นหมายความว่า เราไม่ได้หมูกรอบ 5 กิโลกรัม แต่เราได้เพียง 3 กิโลกรัมนะครับ จากหมูสามชั้น กิโลกรัมละ 200 บาท

ส่วนหมูกรอบที่เราทำได้จะเป็น กิโลกรัมละ 333.33 บาททันที ถ้าเราคิดต้นทุนที่กิโลกรัมละ 200 บาท เราขาดทุนแน่นอนครับ เพื่อนๆเห็นไหมครับ ก่อนที่เราจะมีการตั้งราคาขายได้ ต้องรู้ราคาวัตถุดิบจริงๆก่อน ถึงจะคิดต้นทุนได้ครับ

นี่ยังไม่รวมของสูญเสียอีกนะครับ บางร้านทอดมาได้ 3 กิโลกรัม ตัดส่วนไม่สวยทิ้งอีก 500 กรัม แสดงว่าหมูกรอบ 1,000 บาท เราใช้ได้จริงๆ แค่ 2.5 กิโลกรัมเองนะครับ ราคาหมูกรอบขึ้นไปเป็นกิโลกรัมละ 400 บาททันที แต่เดียวก่อนการทำหมูกรอบมันมีวัตถุดิบเพิ่มขึ้นมาอีกจ้า…

หมูกรอบ

สูตรหมูกรอบ

  • หมูสามชั้น 5 กิโลกรัม (1,000 บาท)
  • น้ำมัน 5 ขวด (300 บาท ถ้าเหลือเอาไว้ใช้ต่อได้ คิดง่ายๆค่าน้ำมัน 60 บาท)
  • เกลือ 1 ห่อ (1 บาท)
  • น้ำเปล่า 5ลิตร (5 บาท)
  • ผงชูรส 50 กรัม (5 บาท)

รวมต้นทุน 1,071 บาท ไม่รวมแก๊สต้ม, แก๊สทอด, พนักงานทอด ต้นทุนค่าหมูกรอบ 1,071 บาท ได้หมู 2.5 กิโลกรัม = 428.4 บาท / กิโลกรัม งงเลยใช่ไหมครับ จากหมูสามชั้น กิโลกรัมละ 200 บาท แปลงร่างเป็นหมูกรอบราคาขยับขึ้นมากๆ

กระเพราหมูกรอบ

สูตรกะเพราหมูกรอบ

  • หมูกรอบ 50 กรัม (21.42 บาท)
  • พริก 3 ช้อน 45 กรัม (2 บาท)
  • กระเทียม 1 ช้อน 15 กรัม (0.5 บาท)
  • น้ำซอส 1 กระบวย 30 มิลลิลิตร (2 บาท)
  • น้ำซุป 1 กระบวย 30 มิลลิลิตร (0.5 บาท)
  • ซีอิ๊วดำ 1 ช้อน 10 มิลลิลิตร (0.5 บาท)
  • ใบกะเพรา 1 หยิบมือ 15 กรัม (1 บาท)
  • ข้าวสวย 200 กรัม (4 บาท)
  • กล่องอาหาร 1 กล่อง (5 บาท)
  • ช้อน-ส้อม (1 บาท)
  • พริกน้ำปลา (0.70 บาท)
  • ถุงหิ้วไฮโซ (0.5 บาท)

ต้นทุน

รวมต้นทุนอาหารประมาณ 40 บาท ไม่รวมค่าแก๊สผัด ค่ากุ๊กผัด ถ้าเราต้องการขายให้ต้นทุนอยู่ที่ 50% เราต้องขายจานละ 40×100/50 = 80 บาท

หน้าร้านเราต้องขายผัดกะเพราจานละ 80 บาท เราได้ต้นทุนของผัดกะเพราหมูกรอบ 100% แล้ว ได้ราคาขายหน้าร้าน 100% แล้ว คือ ต้นทุน 40 บาท ขาย 80 บาท

และคำถามที่เพื่อนๆ ถามผมบ่อยมากๆ คือ เราจะตั้งราคาขายในแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เท่าไหร่ดีครับ ผมใช้เทคนิคการตั้งราคาอยู่ 3 วิธีครับ

โดยใช้เหตุผลประกอบการตั้งราคา จากต้นทุนที่เราจ่ายจริงตามค่าคอมมิชชั่นและความรู้สึกตัวเองล้วนๆในมุมมองเป็นลูกค้าเองครับ

READ  ก่อนตั้งราคาทุกเมนูในร้านอาหารต้องคำนึงถึง 7 ข้อนี้

การตั้งราคา

1.) ผมจะนำราคาขายหน้าร้านที่คิดได้จากต้นทุนจริง + 35% + Vat 7%

เช่น ราคาขายอาหาร 80 บาท + ค่า 28 บาท + Vat 7% 1.96 บาท ราคาตั้งขาย 109.96 บาท วิธีนี้ เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 74.66 บาท คิดเป็น 93.33% หายไป 5.34 บาท คิดเป็น 6.67%

ให้เราคิดซ่ะว่า เป็นค่าเช่าบนแพลตฟอร์ม 6.67% ครับ วิธีคิดคือ เราขายอาหารราคา 109.96-(32.99+2.30) = 74.67 บาท เราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 74.66 บาท คิดเป็น 93.33% ของราคาขายหน้าร้าน

การตั้งราคา

2.) ผมจะนำราคาขายหน้าร้านที่คิดได้จากต้นทุนจริง + ค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายจริง 30% + Vat 7%

เช่น ราคาขายอาหาร 80 บาท + 24 บาท + 1.68 บาท = ราคาตั้งขาย 105.68 บาท วิธีนี้ เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 71.76 บาท คิดเป็น 89.7% ของราคาขายหน้าร้าน หายไป 8.24 บาท คิดเป็น 10.30%

วิธีคิด คือ เราขายอาหารราคา 105.68-(31.7+2.22) = 71.77 บาท เราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 71.76 บาท คิดเป็น 89.7% ของราคาขายหน้าร้าน

การตั้งราคา

3.) ต้นทุนอาหารจริง + ค่าคอมมิชชั่น 20% + Vat 7%

เช่น ราคาขายอาหาร 80 บาท + 16 บาท + 1.12 บาท = ราคาตั้งขาย 97.12 บาท วิธีนี้ เราจะได้เงินเข้าร้านจริงๆ 65.97 บาท คิดเป็น 82.45% หายไป 14.04 บาท คิดเป็น 17.55%

วิธีคิด คือ เราขายอาหารราคา 97.12 -(29.13+2.03) = 65.97 บาท เราจะได้เงินค่าอาหารจริงๆ 65.97 บาท คิดเป็น 82.45% ของราคาขายหน้าร้าน

เพื่อนๆเห็นตัวเลขทั้ง 3 ข้อไหมครับ ทุกข้อ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไปครับ แต่ไม่ว่าข้อไหนเราก็เจ็บตัว ขาดทุนกำไรที่เราจะได้จริงๆครับ แน่นอนครับไม่มีของฟรีบนโลก ไม่มีของดีและฟรีจริงๆครับ

กว่าพาร์ทเนอร์เราจะทำแพลตฟอร์มออกมาได้ขนาดนี้ ต้องใช้เงินเท่าไหร่ และมันสมองคนเก่งอีกกี่ร้อยคน ทุกอย่างมีเหตุและผลตามมาเสมอครับ ย้อนกลับมาดูวิธีการคิดของผมครับ

เตี๋ยวกะเพรา

ข้อ 1  + ราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 35% ถ้าหากเมนูนี้เราขายได้ ขายดี ลูกค้าสั่งเยอะ ไม่รู้สึกว่าแพงไป ให้เราเน้นขายเมนูนี้เยอะๆเลยครับ เพราะ เราขาดทุนกำไรน้อยที่สุดครับ แต่ถ้าขายได้น้อย หรือขายไม่ได้เลย ผมแนะนำให้ลดค่าคอมลง หรือตัดออกจากเมนูเลยครับ

เตี๋ยวกะเพรา

ข้อ 2  + ราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 30% กลยุทธ์นี้ คือ วิธีที่ผมเลือกใช้มากที่สุด เป็นตัวเลขที่ผมเจ็บตัวไม่มาก และลูกค้ายอมรับได้ กำไรหายไป 10% คิดเสียว่า เป็นค่าดำเนินการของพาร์ทเนอร์เราครับ

เตี๋ยวกะเพรา

ข้อ 3  + ราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 20% วิธีนี้ลูกค้าชอบและให้การตอบรับดีมาก แนะนำเป็นเมนูพิเศษ เมนูสร้างกระแส และในยุคโควิดแบบนี้ ผมอาจจะใช้คำว่า แนะนำให้บวกไปประมาณ 20% ครับ

คิดเสียว่า เป็นค่าดำเนินการ ค่าเช่าสถานที่ ค่าขนส่ง ค่าการตลาด กำไรน้อย แต่อาจจะได้ปริมาณลูกค้าเยอะขึ้นครับ เป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆผู้ประกอบการร้านอาหารทุกท่าน ให้จับมือสู้ไปด้วยกันครับ

เตี๋ยวกะเพรา

 

Resource : Duangtawan Kesorn, เตี๋ยวกะเพรา

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า